จากการดำเนินงานโครงการร้านกาแฟศิวิฆ คาเฟ่ โดยมีเป้าหมาย เพื่อให้เกิดวิถีชีวิตพลเมืองชีวิตสาธารณะให้เกิดขึ้นในพื้นที่และในบรรยากาศสาธารณะ (Public Space & Public Sphere) เป็นชีวิตสาธารณะที่คึกคักมีชีวิตชีวาด้วยการพบปะแลกเปลี่ยนสื่อสาร (Communication) ของผู้คนเป็นประจำวัน เป็นสถานที่รองรับปฏิบัติการทางสังคม (Social Action) และเป็นสถานที่รองรับการแสดงออกทางศิลปวัฒนธรรมต่างๆ (Cultural Activities)
โดยจุดเริ่มต้นของโครงการได้เริ่มระดมหุ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 เป็นต้นมา โดยมีรายชื่อผู้ให้การสนับสนุน ดังนี้
1. นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม |
2. นางสาวสมสุข บุญญะบัญชา |
3. ศ.พญ.สาคร ธนมิตต์ |
4. ดร.สุทธิลักษณ์ สมิตะสิริ |
5. รศ.ดร.เนาวรัตน์ พลายน้อย |
6. นางนิศานาถ โยธาสมุทร |
7. รศ.ดร. ปาริชาต สถาปิตานนท์ |
8. นายยศาธร รุจิกัณหะ |
9. ดร.วิสุทธิ วิทยฐานกรณ์ |
10. คุณกมลพรรณ พันพึ่ง |
11. นายทวี วิริยฑูรย์ |
12. นายชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ |
13. นายศิริชัย สาครรัตนกุล |
14. Mr.Cristian Birholz |
จนถึงปัจจุบัน มีจำนวนหุ้น 65 หุ้น เป็นจำนวนเงิน 325,000 บาท (ซึ่งจำนวนเงินที่ได้จากการขายหุ้นในระยะแรกนั้นได้นำไปเป็นค่าดำเนินการก่อสร้าง รูปแบบร้าน ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อปลายปี 2548) (หากท่านสนใจซื้อหุ้นสนับสนุนกิจกรรมของร้าน Civic Cafe ที่ดำเนินการโดย
บางกอกฟอรั่ม สามารถกรอกใบสมัครและส่งมาได้ที่บางกอกฟอรั่ม)
ปัจจุบันบางกอกฟอรั่มได้ใช้สถานที่ดังกล่าวดำเนินงานโครงการเด็กแพร่งภูธรกับการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสามแพร่ง (เขตพระนคร) แพร่งภูธร แพร่งสรรพศาสตร์ และแพร่งนรา (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อโครงการเด็กแพร่งภูธรกับการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสามแพร่ง) ในระยะแรก เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ และการดำเนินงานเพื่อสร้างให้เกิดวิถีชีวิตสาธารณะนั้นจำเป็นต้องใช้ระยะเวลา และต้องใช้รูปธรรมเพื่อให้สถานที่ดังกล่าวกลายเป็นพื้นที่พบปะที่เป็นจริง ดังนั้น คณะทำงานบางกอกฟอรั่มจึงได้ใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ปฏิบัติการเพื่อรองรับวิถีชีวิตสาธารณะของเยาวชนและชุมชนในพื้นที่สามาแพร่งก่อนเพื่อดึงดูดให้คนภายนอกเข้ามาในพื้นที่ด้วย โดยได้เริ่มโครงการเมื่อเดือนมิถุนายน 2548
|