หน้าแรก I ติดต่อบางกอกฟอรั่ม I เกี่ยวกับบางกอกฟอรั่ม I  English version   I  Webboard บางกอก
 
 
 

“ ที่ผมจะบอกก็คือว่า มันมีเรื่องสำคัญของครอบครัวครับ มันจะมีครอบครัวที่ไม่ให้อะไรเลย
ไม่สนับสนุนอะไรเลย ถัดขึ้นมาก็เป็นพวกให้โอกาส แต่ฉันไม่สนับสนุนนะ อยากออกไปก็ออก
แต่ไม่สนับสนุนนะ ตัวเองก็อยู่เฉยๆ อีกพวกหนึ่งที่ดีที่สุดก็คือ ให้โอกาส และสนับสนุน ต้องบอกว่า
ในมุมที่ไม่สนับสนุนอะไรเลย และไม่ให้โอกาสนี่เยอะ มันก็มาจากหลายปัจจัยนะ เช่น เขาไม่
สามารถไว้ใจได้ว่าในเมืองใหญ่ๆ วุ่นวายๆ ลูกเขาจะไปแล้วปลอดภัยหรือเปล่า หรือว่ามีใคร
มาดูแลลูกของเขาได้ไหม ใครจะรับผิดชอบ รวมทั้งจะส่งผลกระทบต่อการเรียนไหม ” 

ปาล์ม อธิบายที่มาที่ไปของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น  “ ซึ่งมันก็ไม่แปลก เพราะว่าคนเมืองไม่ได้
มีพื้นที่ในทำเกษตรเพื่อที่จะให้... ถ้าว่ากันตามบริบทสังคม ตามต่างจังหวัด ถ้าไม่ได้ทำอะไร
เขาก็ยังทำไร่ทำนาก็ยังพออยู่ได้แต่คนเมืองไม่มีครับ เพราะฉะนั้นทางรอดเดียวของคนเมือง คือ
การออกไปหาอาชีพ พ่อแม่ก็จะมองว่าเฮ้ย..ลูกต้องหาอาชีพ เขาก็จะไม่สนับสนุนด้านอื่น
แต่จะให้ลูกไปเป็นที่หนึ่งด้านนี้ให้ได้ จะได้มีเงิน มีอาชีพทำ

หากต้องการให้สุขภาวะของคนเมืองกลับคืนมานั้น การสร้างกองทุนสุขภาวะอาจเป็นอีก
ทางเลือกหนึ่ง ซึ่งเมื่อพูดถึงกองทุนแล้ว สิ่งแรกที่คนมักนึกถึงคือเงิน หากแต่ซีน่า และปาล์ม
กลับไม่คิดอย่างนั้น ทั้งสองคนสะท้อนมุมมองไว้อย่างน่าสนใจว่า


“ หนูมองว่า มันสำคัญเพราะมันเป็นเงิน แต่ไม่ได้สำคัญว่ามันเยี่ยวยาให้เด็กทำงานได้ ฉะนั้น
มันสำคัญนิดนึง แล้วก็อย่างอื่นสำคัญกว่ามากๆ  เช่น กำลังใจจากพ่อแม่ หากพ่อแม่มีกองทุน
กำลังใจให้ลูก ลูกอยากทำอะไรก็ให้ทำ” ซีน่าอธิบาย  “สองคือสังคมที่ปลอดภัยที่เป็นทุนที่ให้ลูก
ก้าวออกมาอย่างไม่ต้องกลัวว่าจะได้รับอันตราย สามคือการมีพี่เลี้ยงที่ดี ซึ่งอาจหมายถึง พ่อแม่ ครู
เพื่อน ซึ่งก็สามารถเป็นพี่เลี้ยงให้กับตัวเขาได้ หรือคนที่เคยทำงานด้านนั้นๆ มาแล้ว
เป็นพี่เลี้ยงให้ได้ รวมถึงหนังสือ

รวมถึงสภาพแวดล้อมก็เป็นพี่เลี้ยงให้กับเด็กคนนั้นได้ ถ้าเด็กจะทำอะไรก็ตาม ดังนั้นรอบตัวคือกองทุน ”
ต่อประเด็นนี้ ปาล์มมีข้อคิดเห็นว่า “ ผมว่าเรื่องเงินก็เป็นปัจจัยตัวหนึ่ง แต่ก็เห็นด้วยว่าเงินก็ไม่ใช่สิ่งสำคัญ
ถ้าจำเป็นต้องมีกองทุนไหม ผมว่าน่าจะต้องมีกองทุนในสองเรื่องหลักๆ หนึ่งคือ กองทุนที่สนับสนุนเรื่อง
สภาพจิตใจ เรื่องของจิตใจ กำลังใจ อย่างที่ซีน่าบอก อีกเรื่องคือเรื่องของความคิด ทำให้คิดเป็น
คือถ้าเรามีกองทุนที่ให้ความรู้หรือทำให้เด็กคิดเป็นได้  กองทุนมันจะอยู่นาน หรือไม่นานก็แล้วแต่
แต่ถ้าเด็กคิดเป็นมันจะคลิกทุกอย่าง เช่นว่า ตอนนี้เขาไม่มีเงิน เขาจะทำยังไง 
ซึ่งตอนนี้คนไม่ค่อยให้ความสนใจมันเท่าไร ส่วนใหญ่ก็จะเรื่อยเปื่อย

ทำไมต้องทำเรื่องจิตใจกับความคิด ? - ปาล์มอธิบายเหตุผลของเรื่องนี้ไว้เพิ่มเติมว่า
ลักษณะของเด็กกรุงเทพคือ ฉลาด แต่ว่าไม่ค่อยตั้งคำถาม เด็กกรุงเทพฯ คิดได้ แต่ไม่ค่อยคิดเป็น
คือถ้าคิดเป็น มันต้องคิดหาทางรอดในเรื่องของปัญหาที่เจออยู่ตรงหน้าได้ ไม่งั้นที่เห็นส่วนใหญ่ก็จะ..
ถ้ามีปัญหาก็หาเงินเอามาซื้อตรงนี้  ผมว่าอันนี้คือคิดได้ แต่ถ้าคิดเป็นก็คือ ถ้าจะได้อันนี้ ทำยังไงหว่า
เรามีช่องทางไหนบ้าง เราต้องสร้างเองตรงไหนบ้าง ซึ่งตรงนี้ผมว่าตรงนี้มันไม่เกิด คือสังคมไปคิดให้เด็ก
ทุกเรื่องเรียบร้อยเลย ..ถ้าอยากกินขนม ก็เอาตังค์มาห้าบาทแล้วได้ไป แต่ไม่ได้สอนให้คิดว่า ถ้าอยาก
กินขนม ทำอย่างไรถึงจะได้มา คือมันกรอบให้เด็กไม่ต้องคิด ไม่ต้องคิดอะไรที่มันต่างจากชาวบ้าน
ก็เดินไปตามความเคยชินที่เขาถูกกรอบมาตั้งแต่เด็กไป

 ปาล์ม ให้ข้อคิดว่า “ที่ถามว่าปัจจุบันมีสุขภาวะไหม ผมว่ามี แต่ถ้าเทียบกับแต่ก่อน เราขาดทุนสุขภาวะ
คือถ้ามองว่าสุขภาวะเกิดจากทุนทางสังคม ผมว่าปัจจุบันทุนทางสังคมมันลด แล้วตรงนั้นเราขาดทุน
เพราะมันตีเป็นตัวเงินไม่ได้ สังคม ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ความเป็นอยู่ การช่วยเหลือกัน มันหายไป
เยอะซึ่งมันแปลงเป็นตัวเงินไม่ได้ ซึ่งอันนี้มันจะต่อกันกับที่พี่ถามว่า ถ้าให้เกิดกองทุนสุขภาวะของเด็ก
เนี่ย ถ้าถามว่าอะไรเป็นปัจจัยที่สำคัญ ผมว่าเป็นเรื่องของคน คนที่เกี่ยวข้องกับเด็กในทุกๆ มุม”

เพราะฉะนั้น  เพื่อให้ตอบโจทย์ข้อนี้ ปาล์มจึงเสนอทางออกว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กในทุกๆ แง่มุม จึงต้องร่วมกันผลักดันให้เกิดกองทุนสุขภาวะด้านเด็กขึ้น โดยอยากให้ภาคธุรกิจลงมาทำงานกับเด็กและ
เยาวชนให้มากกว่านี้ โดยออกมาให้ความรู้เด็กมากขึ้น หรืออาจจะช่วยเหลือในเรื่องอื่น โดยไม่ต้องคำนึง
เรื่องขาดทุนหรือกำไร ทั้งนี้เพราะทุนหลายๆ อย่างของทางภาคธุรกิจนั้นมีมาก ทั้งการคิดเป็นระบบ
ทั้งตัวบุคคลากร ทั้งความรู้ที่สามารถนำมาช่วยเหลือกันได้ แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ค่อยลงมาถึงเด็กเท่าไรนัก

ปาล์มยังเสนออีกว่า ไม่ว่าจะเป็นกองทุนระดับไหนก็ตาม สิ่งสำคัญคือใจของคนที่เข้ามารวมกัน และ
ความสัมพันธ์ของคนเหล่านั้น ถ้ามีกองทุน คนต้องเข้ามาด้วยใจที่อยากช่วยกัน ซึ่งถึงแม้กองทุนจะ
สลายไป แต่คนยังอยู่ ยังเชื่อมประสานกันได้ ดังนั้นความสำคัญจึงอยู่ที่คน ปาล์มเสนอว่าต้องเปิด
โอกาส สร้างพื้นที่ให้คนได้เข้ามาพูดคุย หาวิธีที่ทำให้คนที่เข้ามา รักกัน ช่วยกันจริงๆ

นอกจากนี้แล้ว ปาล์มมองว่า กองทุนสุขภาวะด้านเด็กนั้นการบริหารจัดการที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญอีก
อย่างหนึ่งที่จะทำให้กองทุนดังกล่าวนั้นสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ที่จะทำให้
กองทุนฯเกิดขึ้นมาคือคณะก่อการคณะหนึ่ง สิ่งสำคัญคือจะทำอย่างไรให้กลุ่มคนเหล่านี้ สามารถช่วย
เกื้อหนุนกันเองได้ และขยายผลต่อไป นอกจากนี้ ในส่วนของการสรรหาคนเข้ามาทำงานนั้นก็ไม่ควร
จะไปดึงคนที่มีงานล้นมือ มีภาระมากมายอยู่แล้วมาเป็นผู้ดำเนินการ เพราะคนเก่งนั้น สามารถ
ทำอะไรได้หลายอย่าง แต่ไม่เชื่อว่าจะสามารถทำได้ดีทุกงาน ดังนั้นถ้าเลือกคนที่เก่งพอประมาณ
อยากเรียนรู้ ไม่มีทิฐิ มีภาระงานไม่หนักเกินไป เข้ามาแล้วมาเรียนรู้ มาร่วมสร้างกองทุนสุขภาวะ
ก็น่าจะดีกว่า

Copyright@ 2006 Bangkok Forum
บางกอกฟอรั่ม เลขที่ 104, 106 ถ.แพร่งภูธร แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทร. 02-228-1362-3 และ 02-622-2316โทรสาร 02-228-1362 หรือ www.bangkokforum.net หรือ [email protected]