กับคำถามที่ว่า ถ้ามีกองทุนสุขภาวะเกิดขึ้นมาในกรุงเทพแล้ว
เราอยากจะคืนสุขภาวะด้านไหนให้กับเด็กกรุงเทพก่อน ซีน่าตอบว่า “มีคำตอบเดียวค่ะ.. อยากทำให้เด็กรู้จักตัวเอง ตอบตัวเองให้ได้ว่าอยากเป็นอะไร
จะทำอะไร ชีวิตจะเดินไปยังไง จะเดินไปทางไหน มีอันเดียวเลย ทำได้ก็เจ๋งแล้ว”
ส่วนปาล์มให้คำตอบที่คล้ายคลึงกัน แต่ต่างกันในรายละเอียด
“ ผมอยากต่อจากซีน่ามากๆ แต่เคยเห็นคนทำบ้างแล้ว เห็นคนพูดแล้ว แต่มันไม่เกิดผล
ผมคิดกลับกันว่า ถ้าเราไม่คืนสุข แต่เราคืนทุกข์ คือคืนให้เขาเห็นว่าที่คุณอยู่มันไม่ได้สุขนะ
มันทุกข์ มันมีความทุกข์อยู่ที่ต้องแก้ แต่เราทำเมินเฉยไปโดยไม่รู้ตัว แล้วคุณจะมาร่วมสร้างไหม
คุณจะทำยังไง ผมว่าเป็นมุมนั้นมากกว่า มุมนั้นเป็นมุมที่น่าเล่นมากๆ เราโยนคำถามใส่เขา
ให้เยอะ ถ้าเขาไม่ถาม ก็เอาคำถามอัดใส่ ถ้าคนไม่คิด เราก็ต้องทำให้คิด มันต้องมีกระบวนการ
เกิดขึ้นถ้าเราจะทำให้เกิดสุขภาวะจริงๆ ผมว่า เราจะต้องชี้จุดที่ทำให้คนเมิน”
ปาล์มทิ้งท้ายไว้อย่างน่าฟังว่า “ผู้ใหญ่ต้องเชื่อว่าเด็กมีพลัง ถ้าไม่เชื่อ ก็ต้องพิสูจน์
เพื่อจะได้เห็นพลังของเด็ก ถ้าไม่สนับสนุนก็ต้องเปิดโอกาส หรือถ้าจะให้ดีก็สนับสนุนเลย
เป็นทั้งโอกาสและการสนับสนุนมาเลย ถ้าในมุมเด็ก ตัวเด็กเอง ที่ผมจะบอกก็คือ ไม่มีใครไม่มีดีหรอกครับ
ทุกคนมีดีในแบบของตัวเองอยู่ ทุกคนมีพลังในแบบของตัวเองอยู่ แต่ละคนจะมีพลังในมุมที่ต่างกัน
ผู้ใหญ่จะทำอย่างไรให้เขาดึงพลังตรงนั้นออกมาได้ จะช่วยยังไงได้ มีพื้นที่หรือเปล่า หรือว่าตัวเด็กเอง
ก็ต้องถามตัวเองว่าเราดีตรงไหน และใช้ตรงนั้นดันออกมา ดีกว่าการนำตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น
เพราะคำตอบที่ได้อาจจะทำให้ตัวเราเล็กและพลังลดลง ซึ่งมันย่อมเป็นการยากที่จะคืนสุขให้กับสังคม”
|