หน้าแรก I ติดต่อบางกอกฟอรั่ม I เกี่ยวกับบางกอกฟอรั่ม I  English version   I  Webboard บางกอก

หรือจะเป็นชาวนาอินทรีย์คนสุดท้าย
ของเขตหนองจอก

ครรชิต จูประพัทธศรี

 

จุดเริ่มต้นของการรณรงค์เรื่องการทำการเกษตรปลอดสารอยู่ที่ลุงประเสริฐ สุขถาวรที่เป็นเกษตรกรเลี้ยงปลา ที่ต้องการเอาน้ำจากคลองเข้าบ่อปลาของตัวเอง แต่ไม่กล้า หลังจากพบว่ามีปลาลอยตายในคลอง เนื่องจากน้ำที่ปนเปื้อนสารเคมีในนาข้าว ไหลลงสู่คลองที่เกษตรกรใช้ในการทำการเกษตรร่วมกัน ลุงประเสริฐจึงเกิดแนวคิดที่จะรณรงค์ให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมีในนาข้าว เนื่องจากการใช้สารเคมีนั้นเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน

               

“ตอนนั้นคุณประเสริฐยังไม่ได้อยู่ที่นี่ คุณประเสริฐเป็นจุดเริ่มต้น ที่จะลดละเลิกสารเคมี คุณประเสริฐเขามาอยู่ประมาณปี 2544 เขาจะเอาน้ำเข้าบ่อ เขาเห็นปลาลอยเขาก็ไม่กล้า แต่ผมเป็นคนที่นี่ เรียนอยู่ที่นี่ ไถนามา ก็มาถึงยุคทำนาปรัง ใช้สารเคมีไม่บันยะบันยัง ก็มีการปรึกษากัน แล้วมันก็มีช่วงที่หอยเชอรี่ระบาด ก็ใส่ยากันอีก”   (คุณโนรี แพฝึกฝน)

ต่อมาได้มีวิทยากรจากภายนอกเข้ามาอบรมเรื่องการทำน้ำหมักจุลินทรีย์ และการควบคุมแมลงในนาข้าวที่โรงเรียนอิสลามลำไทร ชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา เขตหนองจอก ซึ่งภายหลังการอบรม คุณโนรีก็ได้นำความรู้ที่ได้รับการอบรมในครั้งนั้น มาประยุกต์ใช้จนประสบผลสำเร็จ

“ตอนนั้นคุณประเสริฐก็ไปฟัง วิธีการกำจัดหอยนี่ ผมเป็นคนเริ่มก่อน แต่ก่อนเดินจับในนา เดินจับ เขาบอกไอ้นี่บ้าหรือเปล่าวะ เดินจับหอย ผมทำเพื่อให้เขารู้ว่า ถ้าไม่ใช้สารเคมีแล้วใช้วิธีนี้ เราอยู่รอดได้ จนมาเลิกใช้สารเคมีฆ่าแมลงผมก็เริ่มทำก่อน ตอนนั้นมีการอบรมเรื่องแมลง การดูแมลงว่าตัวไหนดี-ไม่ดี สำรวจแมลงแล้วก็ลองไม่ฉีดยา ก็..โอ๊ย..ทำแล้ว ถ้าไม่ฉีดยาก็ไม่ได้เกี่ยว ของเราไม่ฉีดยา ข้างๆ เขาฉีด แมลงมันก็หนีมาหาเราสิ ก็เลยไปไล่โฉบแมลงมาดูนี่ มาดูว่าตัวไหนกินแมลงด้วยกัน ตัวไหนศัตรูพืช มันมีไม่ถึง 10 % ไอ้ตัวที่กินข้าวมันจะอยู่ข้างล่าง ไอ้ตัวไม่กินข้าวมันจะอยู่ข้างบน พอเราฉีดยา ไอ้ตัวที่อยู่ข้างบนมันก็ตายสิ”

จากนั้นมาก็เกิดการรวมตัวกันของเกษตรกรในเขตหนองจอก และพื้นที่ใกล้เคียง เป็นชมรมเกษตรธรรมชาติ ซึ่งมีจำนวนสมาชิกประมาณ 90 คน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการทำการเกษตร โดยมีเป้าหมายที่จะละลดเลิกการใช้สารเคมีทางการเกษตร ซึ่งกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ทางกลุ่มได้ทำกันก็คือเรื่องการผลิตข้าวอินทรีย์ 

คุณโนรี แพฝึกฝน เป็นเกษตรกรคนหนึ่งที่ผลิตข้าวอินทรีย์ ชนิดข้าวหอมมะลิ 105 ในครั้งนั้น ตั้งแต่เพาะปลูก เก็บเกี่ยว สี จนแพ็คเป็นห่อสุญญากาศติดแบรนด์ “ข้าวหอมทองคลองแสนแสบ” เพื่อส่งขาย ได้เล่าให้ฟังถึงบางส่วนของขั้นตอนการผลิตว่า

“ถ้าเรื่องอินทรีย์นี่ อย่างน้อยก็เคมีไม่มี ปุ๋ยเคมีก็ไม่มี ยาเคมีไม่ใช้หลักๆ ก็คือแบบนี้แหล่ะ  ปุ๋ยขี้วัวขี้ควาย มีหอยเชอรี่ เอ้า.. เดินเก็บ ของเราไม่ใช้เคมีไง ไม่ใช้ยาฆ่า ใช้การเดินเก็บ  แล้วก็กระบวนการของการใช้เมล็ดพันธุ์ เขาหว่านกัน 30-35 กิโลกรัม ก็มาเหลือ 15-20 กิโลกรัมอย่างนี้  ตรงนี้มันเกี่ยวพันกับเรื่องแมลง  ถ้าข้าวหนาแน่นมาก แมลงจะลงมากิน แดดไม่ถึงมั่ง อะไรมั่ง ถ้าเราหว่านเมล็ดมันน้อยหน่อย แดดส่องถึง แมลงอะไรก็ไม่มี”  (คุณโนรี แพฝึกฝน)

หากฟังเผินๆ แล้ว อาจจะนึกว่าการผลิตข้าวอินทรีย์เป็นเรื่องง่าย แต่ความจริงแล้วเป็นเรื่องยาก ทั้งนี้เพราะกระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์นั้นยุ่งยาก ลำบาก ได้ผลผลิตน้อย ต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเมื่อต้องรวมคนเข้าด้วยกันเพื่อเป็นกลุ่มก้อน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า เป็นเรื่องที่ควรจะทำ      ลุงประเสริฐ สุขถาวร เล่าความหนักใจให้พวกเราได้ฟังว่า
 
Copyright@ 2006 Bangkok Forum
บางกอกฟอรั่ม เลขที่ 104, 106 ถ.แพร่งภูธร แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทร. 02-228-1362-3 โทรสาร 02-228-1362 หรือ www.bangkokforum.net หรือ [email protected]