3. สนับสนุนการค้นหาความหมาย เพื่อสร้างคุณค่าของ “ กองทุนสุขภาวะ ”
การเป็น “ กองทุนสุขภาวะ” นั้น ต้องใช้ “ หัวใจ” ในการดำเนินการ คือ การสร้างให้เกิดความร่วมมือ การแบ่งปัน และการเอาใจใส่กัน โดยรูปแบบของ “ กองทุนสุขภาวะ” จะเป็นในรูปแบบใดก็ได้ เพียงแต่ต้องให้คนในชุมชน พื้นที่ สะท้อนคำว่า “ สุขภาวะ” และประเด็นสร้างสุขภาวะให้ชัดเจน หลังจากนั้น ก็นำไปสู่กระบวนการกระตุ้นหนุนเสริมให้เกิด “ กองทุนสุขภาวะ” ที่เป็นรูปธรรม ดังตัวอย่างของ “ ชมรมรักถิ่นเขตทวีวัฒนา ”
“ กองทุนสุขภาวะ” คือ กองทุนอะไรก็ตามที่มีสมาชิกมารวมกัน และก็เอาเงินมาออม และนำเงินออมนั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ และทำให้สมาชิกมีสุขภาพกายที่ดีขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป็นลักษณะกองทุนสุขภาวะที่ช่วยเหลือกันภายในกลุ่ม เอาเงินมาออมกันเป็นกองทุน จะเล็กหรือใหญ่ก็ได้ กองทุนเล็ก ๆ ก็สามารถช่วยกันได้ เมื่อเกิดความจำเป็น”
“ ถ้าจะมองดูส่วนประกอบใหญ่ ๆ ของ “ กองทุนสุขภาวะ” ควรจะมีทั้งสองด้าน คือ ด้านกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม ที่เป็นกิจกรรมทางด้านการเงิน เช่น กลุ่มออมทรัพย์ ส่วนอีกด้าน คือ ด้านนามธรรม ที่เป็นคุณธรรม หรือทางด้านจิตใจ คือ ต้องมีจิตใจดี และมีถ่ายทอดส่งผ่านความรู้ ที่ไม่ใช่ความรู้อย่างในระบบการศึกษา แต่เป็นความรู้โดยการบอกเล่า ความรู้ผ่านประสบการณ์ เป็นต้น ทั้งสองส่วนนี้ ทั้งด้านนามธรรมและรูปธรรมต้องเดินไปด้วยกัน ต้องมาบูรณาการร่วมกัน นอกจากนี้ กิจกรรมการออมทรัพย์ยังถือเป็นอีกหนึ่งระบบของการพึ่งตนเอง หรือระบบคุ้มกันทางเศรษฐกิจ คือ การช่วยเหลือกันด้านเศรษฐกิจของชาวทวีวัฒนาอีกด้วย”
|