หน้าแรก I ติดต่อบางกอกฟอรั่ม I เกี่ยวกับบางกอกฟอรั่ม I  English version   I  Webboard บางกอก

สรุปประเด็นสำคัญการประชุม Big Bang สยาม ๒๕๔๘ รวมพลคนรักสยาม
ห้องประชุม 2-3 ชั้น 11 โรงแรมปรินซ์พาเลส มหานาค

 

ผลการประชุมสามารถสรุปสาระสำคัญได้ 7 หัวข้อใหญ่ และหลังจากนั้นที่ประชุมได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อบรรลุผลในเชิงปฏิบัติ ดังนี้

ประเด็นที่ 1 สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ด้วยการปฏิรูปการศึกษา และมีพื้นที่ทางวัฒนธรรมให้แก่สังคม

รูปธรรมของรัฐบาล
Action :

  • แนะนำความรู้ด้านสุขภาพ (สาธารณสุข)
  • ศูนย์การพัฒนาครู เช่น EQ, DQ, IQ (ครูปฏิรูปตัวเองก่อน)
  • มีช่องส่ง TV มีสื่อ TV ชุมชนที่ชุมชนบริหารจัดการเอง สื่อวิทยุ ฯลฯ
  • คณะกรรมการจัดการศึกษามาจากการคัดเลือกทั่วไป
  • ยกฐานะการศึกษาขึ้นทั้งในระบบและนอกระบบ คือ นอกระบบเน้นการเรียนรู้ในชุมชนของตนเอง และตามอัธยาศัย
  • สอนการวางแผนชีวิตให้เยาวชนรู้จัก

Concept :

  • ศึกษาธิการ, เกษตร, สาธารณสุข ทำงานเป็นองค์รวม
  • เนื้อหาการศึกษากำหนดโดยท้องถิ่น (หลักสูตรซึ่งเกี่ยวกับเนื้อหาโดยท้องถิ่น)
  • การศึกษาควรครอบคุมทุกชาติ ภาษาในไทย เช่นกลุ่มผู้ลี้ภัย
  • เน้นการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ
  • ใช้หลักไตรสิกขา (ฟัง, คิด, ทำ) แทรกในการศึกษาและชุมชน สอนกระบวนการเรียนรู้(ส่งเสริมกระบวนการวิจัย)
  • ยกสถานะภาพของครู
  • สอนให้เด็กมีจริยธรรม ธรรมะ มีจิตสำนึกในการรักความเป็นไท
  • อยากได้คนที่มีความรู้มาเป็นครู

 รูปธรรมของประชาชน
Action :

  • ส่งเสริมการทำประชาพิจัยในชุมชน
  • ศูนย์พ่อแม่ ให้ความรู้เยาวชนที่ถูกทาง
  • มีชมรมส่งเสริมความเป็นเยาวชนทุกชุมชน
  • สร้างแหล่งการเรียนรู้นอกห้องเรียนรองรับ เช่น วัด อบต. บ้าน โรงเรียน มีการเพิ่มวัฒนธรรม
  • การสร้างเครือข่ายอาสาสมัครให้เป็นเวทีการเรียนรู้
  • มีพื้นที่และโอกาสให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนความรู้
  • จัดตั้งกลุ่มประชาชนดูแลสื่อ (ปัจจุบันมีมูลนิธิสื่อสีขาว ซึ่งรัฐบาลเป็นเจ้าของ)

Concept :

  • ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกรักคุณค่าความเป็น MAN รักท้องถิ่นของตนเอง
  • ลดกระแสบริโภคนิยม
  • มีการศึกษาแบบองค์รวมตลอดชีวิต
  • สร้างภูมิอดกลั้นต่อความแตกต่างแสวงหาความเข้าใจผู้อื่น
  • การเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตโดยใช้ธรรมะใส่ในการศึกษา

Technique :

  • การทำงานร่วมกันต้องไร้อคติ

ประเด็นที่ 2 การสร้างสังคมสันติสุขด้วยพลังสร้างสรรค์ ของเยาวชน และครอบครัวเพื่อเอาชนะยาเสพติดและภัยอื่นๆทางสังคม

ลักษณะสังคมสันติสุข

  • การศึกษาทั่วถึง
  • เศรษฐกิจดี คนมีอาชีพ
  • มีความปลอดภัยในทรัพย์สินและชีวิต
  • การมีสิ่งแวดล้อมที่ดี
  • การมีค่านิยมไทยที่ถูกต้อง
  • ผู้คนในสังคมมีศีลธรรม และมีจิตสำนึกที่ดี

พลังสร้างสรรค์เยาวชนและครอบครัว

  • ครอบครัว
        - พ่อแม่ เป็นตัวอย่างที่ดี
        - ญาติ
  • ศูนย์อนามัยชุมชนของครอบครัว
  • การส่งเสริมอาชีพตามความถนัด(การมีส่วนร่วม)
  • การใช้ทรัพยากรของท้องถิ่น
  • บุคคล
  • สื่อท้องถิ่นภายในชุมชน
  • เผยแพร่ข่าวดีๆ เชิดชูคนดี และชื่นชมครอบครัวดี
  • แจ้งข้อมูลข่าวสารในชุมชนเรื่องชุมชน และสนับสนุนให้เกิดสื่อของชุมชน
  • สิ่งแวดล้อม
  • การเรียนรู้ จัดการสิ่งแวดล้อม ให้เยาวชนมีส่วนร่วม เช่นธนาคารขยะ
  • วัฒนธรรมท้องถิ่น
  • ให้การเรียนรู้ และเผยแพร่ให้คนรู้จัก โดยใช้ภูมิปัญญาชุมชน เช่น กีฬา ดนตรี ฯลฯ
  • เครือข่ายเยาวชน
  • กิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น ค่ายอาสาเรียนรู้ประสบการณ์
  • ADULT WATCH ให้รู้เท่าทันสื่อ ขยายแนวร่วมกัน
  • จัดเวทีสาธารณะในชุมชน
  • จัดต่อเนื่องเป็นระยะๆ
  • ใช้ถกปัญหากัน
  • คุยเรื่องดีๆ
  • เปิดโอกาสให้เยาวชนเป็นผู้นำร่วมกำหนดตัดสินใจในทุกเรื่องของชุมชน
  • เครือข่ายเฝ้าระวัง
  • ยาเสพติด
  • ความปลอดภัย
  • ฯลฯ

ประเด็นที่ 3 พัฒนาประชาธิปไตยที่ยืนอยู่บนคุณค่า ทางศีลธรรมโดยประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะและมีธรรมาภิบาล

1. ทบทวนสถานการณ์ประชาธิปไตย

  • ถูกครอบงำทางด้านการเมือง
  • กลไกทางรัฐธรรมนูญถูกปิดกั้น (ม. 76 )
  • รัฐบาลใช้กลไกรัฐธรรมนูญในการได้เปรียบทางการเมืองและบิดเบือนรัฐธรรมนูญ
  • ประชาชนส่วนมากไม่รู้สิทธิพลเมืองและภาครัฐบาลไม่สนับสนุน
  • ส.ส. และส.ว.ไม่อิสระและใช้เงินมาก

2. ความหมายธรรมาภิบาล และนโยบายสาธารณะ

  • ประชาคมเรียนรู้ธรรมาภิบาล
  • โปร่งใส, มีส่วนร่วม, ตรวจสอบได้ และนโยบายสาธารณะ
  • สิ่งที่สังคมต้องการ เสนอมาจากภาคประชาชน

3. ประชาชนจะทำอะไร

  • จัดตั้งกลุ่มองค์กรและสร้างเครือข่ายเพื่อแสดงพลัง
  • จัดระบบองค์กรและเผยแพร่ความรู้ และให้มูลข่าวสารที่เพียงพอ แก่ประชาชน
  • ให้ประชาชนและสื่อมีการติดต่อสื่อสารที่สัมพันธ์กัน
  • ให้รัฐสภาพมีอำนาจโดยประชาชนจัดตั้งองค์กรโดยมีส่วนร่วมศึกษากลไกรัฐสภา
  • ศูนย์กิจกรรมร่วมรัฐสภาและมาจากกลุ่มหลากหลาย
  • ประชาชนต้องเลือกนักการเมือที่ไม่ใช่นักเลือกตั้ง

ทำอย่างไรให้เป็นจริง

  • จัดประชุมองค์กรที่สนใจและประสานงานกับศูนย์กิจกรรมร่วมรัฐสภาและให้การรับรองสถานภาพอาสาสมัคร
  • ประชาชนมีส่วนร่วมกิจกรรมด้านการเมืองในทุกระดับ
  • การรวมกลุ่มอย่างมีคุณภาพและมีสิทธิเรียกร้องและต่อรอง

4. รัฐบาลจะทำอย่างไร

  • ให้รัฐบาลปฏิบัติตาม (ม. 76 ) เพื่อส่งเสริมนโยบายสาธารณะภาคประชาชนอย่างเคร่งครัด
  • ให้เร่งออก พ.ร.บ. รับฟังความคิดเห็นประชาชน
  • เร่งออก พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ร.บ.ป่าชุมชน
  • จัดระบบสารสนเทศพร้อมบริการแก่ประชาชน
  • รัฐบาลหยุดแทรกแซงองค์กรอิสระ
  • โครงการของรัฐขนาดใหญ่ต้องมีประชาวิจารณ์
  • รัฐบาลบริหารงานอย่างมีธรรมาภิบาล

ทำอย่างไรให้เป็นจริง

  • ประชาชนมีพลังและมีความน่าเชื่อถือ
  • รัฐบาลสนับสนุนเวทีประชาคมต่างๆ เพื่อร่วมผลักดันข้อเสนอข้างต้นให้เป็นจริง

ประเด็นที่ 4 สร้างความมั่นคงในประเทศบนพื้นฐานทางความเชื่อ, วัฒนธรรม และเคารพต่อธรรมชาติรวมทั้งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ปัจจัยที่สนับสนุนความมั่นคง

  • คน รู้จักรักสามัคคี เอื้ออาทร และสมานฉันท์
  • จิตสำนึก ดำรงเอกลักษณ์ความเป็นไท
  • เศรษฐกิจ ระบบการเงินพอเพียง เป็นจริง ตรวจสอบและธรรมาภิบาล
  • ค่านิยม ปลูกฝังจริยธรรมเด็ก
  • ประเพณีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • วิถีชีวิตโดยยึดหลักของศาสนา (แก่นแท้ของศาสนา) เฝ้าระวังผู้เผยแพร่ศาสนาแบบผิดหลักความจริง
  • ทรัพยากร ไม่ทำลาย ใช้ทรัพยากรแบบได้ประโยชน์สูงสุด ยั่งยืน และปลูกป่าทดแทน
  • สื่อที่เป็นจริง ทันต่อสถานการณ์
  • คอรัปชั่น นักการเมืองและประชาชน
  • การยอมรับวิถีชีวิต วัฒนธรรมดั่งเดิมของท้องถิ่น
  • ลดกระแสวัตถุนิยม เทคโนโลยีที่มากเกินความเป็นจริง
  • สังคมแบบความเคารพบนความแตกต่างหลากหลาย มีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฎหมาย
  • ไม่มีความคิดการแบ่งแยกประเทศ และอ้างสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของ
  • สถาบันครอบครัว เป็นแบบผัวเดียว เมียเดียว
  • การศึกษาแบบบูรณาการ (วิถีการดำรงชีวิต, ความหลากหลายของมนุษย์ชาติ และไม่ยึดติด) เพิ่มเนื้อหาแนวทางการทำงานของข้าราชการ และพัฒนาการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ
  • เคารพต่ออัตลักษณ์
  • รัฐบาลยอมรับวิถีชีวิตของชนกลุ่ม รับในสิ่งที่เป็นมากกว่าการยัดเยียดด้วยกฎหมายรัฐ

ประเด็นที่ 5 พัฒนาเศรษฐกิจไทยโดยประสานความรู้กับภูมิปัญญา และทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อนำไปสู่การลดช่องว่างระหว่างความร่ำรวยและความยากจน

เป้าหมาย : เพื่อลดช่องว่างให้เกิดความเท่าเทียมโดยใช้ภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่น

แนวคิดในการแก้ไข : สร้างศูนย์ข้อมูล

  • ด้านทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
  • ด้านพฤติกรรมการบริโภคของคนในท้องถิ่น
  • ที่มาของผลิตภัณฑ์อย่างละเอียด
  • การถ่ายทอดความรู้รวมตัวพูดคุย แก้ปัญหาร่วมกัน
  • สร้างหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อนำมาความหลากหลายมาใช้ประโยชน์

ประเด็นที่ 6 สร้างระบบ กระบวนการ กลไกและวัฒนธรมในการเอาชนะคอรัปชั่นใน 1 ปี

1. ออกกฎหมาย (ทบทวน ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลง)

  • ให้ประชาชนมีส่วนร่วมจริง
  • ตรวจสอบกระบวนการเลือกตั้ง
  • ตรวจสอบงบประมาณ
  • ตรวจสอบบริษัททำบัญชี
  • ตั้งกองทุนต้านคอรัปชั่น

2. เสริมกลไกภาคประชาชนในกระบวนการในการตัดสินใจ ในการรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร โดยเฉพาะที่มีผลต่อชุมชนและสังคม

3. สื่อเพื่อการตรวจสอบวัฒนธรรมชุมชน

4. กระบวนการสร้างค่านิยม

  • ผ่านระบบการศึกษา
  • ระบบลงโทษทางสังคม
  • การยกย่องคนดี เช่น การให้รางวัล สวัสดิการ และความมั่นคงต่อชีวิตและครอบครัว
  • สร้างเครือข่ายหรือสมัชชาต้านคอรัปชั่น ในชุมชน อำเภอ จังหวัดและประเทศ

ประเด็นที่ 7 ผลักดันให้สื่อกระแสหลัก เป็นพลังในการสร้างสรรค์ปัญญา ศีลธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม อีกด้านหนึ่ง พัฒนาระบบสื่อภาคประชาชน ให้มีบทบาทในการขยายการเรียนรู้ของสังคม

1. ประเภทของสื่อ

  • กระแสหลัก เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ นิตยาสารและวารสาร, สื่อทาง TV ,สื่อทางวิทยุและสื่อทาง Internet
  • สื่อภาคประชาชน เช่น วิทยุชุมชน และสื่อทาง Internet

2. ความคาดหวังจากสื่อ

  • ประชาชนเป็นเจ้าของวิทยุชุมชน
  • ให้ถูกต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ปี 2540
  • ทุกสื่อต้องรับผิดชอบต่อสังคม
  • เกิดวิทยุชุมชนทุกชุมชน
  • เป็นวิทยุชุมชนเกื้อหนุนประชาชน
  • มีงบประมาณพิเศษรองรับการจัดทำสื่อชุมชน
  • มีการสร้างการเรียนรู้
  • มี TV เฉพาะจังหวัด

3. ปัญหาและอุปสรรค

  • มีการครอบงำความรู้ประชาชน
  • วิทยุชุมชนกลายเป็นสื่อขายทุน
  • ไม่คำนึงถึงประชาชน
  • สื่อชุมชนขาดแคลนทุนและอุปกรณ์
  • สื่อเป็นพิษ เช่น สื่อโฆษณาขนม สื่อลามก สื่อที่โฆษณาเกินจริง และสื่อที่สร้างค่านิยม “ บริโภคนิยม”

4. การบริหารจัดการ (เพื่อการแก้ไข)

  • ผลักดันให้มีการจัดสรรคลื่นความถี่
  • สร้างสื่อทางเลือก
  • เพิ่มสื่อภาคประชาชน 50 %
  • ต่อต้านความชั่วร้ายของผู้แทน
  • เยาวชนสามารถสร้างสื่อของตน
  • สร้างกองทุนสนับสนุน
  • สร้างมาตรการสื่อสร้างสรรค์
  • ควบคุมโฆษณาให้ดี
  • เลิกกฎหมายที่มีอุปสรรค
  • ใช้เทคนิคสื่อโดยเข้าใจผู้รับ
  • บริหารคุณธรรมและจริยธรรมสื่อโดยจัดการอบรม
  • ให้ความรู้กับผู้รับสื่อ
    แก้กฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
Copyright@ 2006 Bangkok Forum
บางกอกฟอรั่ม เลขที่ 104, 106 ถ.แพร่งภูธร แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทร. 02-228-1362-3 และ 02-622-2316โทรสาร 02-228-1362 หรือ www.bangkokforum.net หรือ [email protected]