แฮปปี้แทรเวลล์ : เที่ยวเติมสุข
มีคนกล่าวไว้ว่า การเดินทางท่องเที่ยว เป้าหมายไม่ได้อยู่ที่ปลายทาง แท้จริงแล้วคือการได้รู้จักตนเอง หรือพูดอีกอย่างว่า เดินทางภายนอกก็เพื่อเดินทางภายใน การได้เรียนรู้ผู้อื่น สิ่งอื่น จะมีความหมายก็เมื่อสะท้อนกลับมาที่ตัวของเรา ทำให้เข้าใจโลก เข้าใจชีวิต เมื่อนั้นความสุขก็หาได้ไม่ยาก...
หากการเที่ยวของเรา จะเป็นการเดินที่ช้าลง แต่ไวและเปิดใจกับสิ่งที่ได้สัมผัสมากขึ้น เราอาจจะได้เห็นอะไรมากขึ้นก็ได้ อย่าเพิ่งเชื่อ... จนกว่าจะได้สัมผัสด้วยตัวคุณเอง แล้วลองฟังเสียงหัวใจคุณดูซิว่า รู้สึกยังไง...
ย่ำไปบนเส้นทางสายเก่า
“เที่ยวเติมสุข” ขอนำเสนอการเดินทาง ที่เน้นความสุขของผู้มาเยือน และเจ้าบ้านผู้เป็นเจ้าของสถานที่นั้นๆ อันเกิดขึ้นจากน้ำใสใจจริงและประโยชน์สุขที่จะเกิดขึ้นร่วมกัน โดยริเริ่มเส้นทางท่องเที่ยว “ผ่อบ้าน แอ่วเมืองแป้” ขึ้น เป็นปฐม
ในยุคที่เร่งเร็ว นักท่องเที่ยวหลายคนกลับชมชอบการเตร็ดเตร่ เดินให้ช้าลง และเพลิดเพลินกับความงดงามของสถานที่ ทั้งบ้านเก่า วัด คุ้ม ถนนหนทาง และวิถีผู้คนท้องถิ่น พร้อมการบอกเล่าเรื่องราวแต่หนหลัง หรือ “การผ่อบ้านเก่า” โดยผู้รู้หรือเจ้าของบ้านตัวจริง และนี่...คือพื้นที่แห่งความสุขที่ต่างฝ่ายต่างซึมซับ เติมเต็มให้แก่กัน
การเข้าไปเยี่ยมเยือนบ้านไม้เก่าในหมู่บ้านเล็กๆ ของเมืองแป้ จึงมิใช่แค่การที่คนแปลกหน้าเข้าไปได้เห็นสิ่งแปลกตา หากยังเหมือนการย่ำไปบนเส้นทางสายเก่า เป็นการย้อนรอยวิถีชีวิตที่เรียบง่าย งดงาม คุณค่าและฝีมือเชิงช่างในการสร้างบ้านแปงบ้านเมืองของคนรุ่นก่อน อีกทั้งเรื่องราวในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษหลายรุ่นได้สืบทอดต่อกันมา ซึ่งลูกหลานควรซึมซับรับคุณค่าสิ่งดีงามมาปรับใช้อย่างสมสมัย ที่สำคัญคือ ยังเป็นการให้กำลังใจ และร่วมสนับสนุนผู้คนที่อาศัยอยู่ในบ้านไม้เก่าเหล่านั้น ซึ่งถือได้ว่าผู้รักษามรดกทางวัฒนธรรมของบ้านเมือง
“เที่ยวเติมสุข” เป็นธุรกิจเพื่อสังคม ที่บางกอกฟอรั่มดำเนินการ โดยร่วมมือกับชมรมอนุรักษ์สถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองแพร่ และข่ายลูกหลานเมืองแพร่ ...นำเสนอการเดินทางท่องเที่ยวแบบใหม่ที่ช่วยเติมเต็มความสุข และมีคุณค่ายิ่งกว่าเมื่อเทียบกับการท่องเที่ยวธรรมดาๆ เพราะมีส่วนร่วมสนับสนุนการอนุรักษ์บ้านไม้เก่า โดยกำไรส่วนหนึ่ง จะนำมาสมทบเพื่อตั้งกองทุนอนุรักษ์และฟื้นฟูบ้านไม้เก่า เพื่อต่อลมหายใจให้บ้านเก่ายังคงอยู่คู่เมืองแป้ เป็นมรดกให้กับลูกหลานสืบไป
ความสุข.... ท่ามกลางวิถีชุมชนและวัฒนธรรมอันงดงาม ที่สัมผัสได้จริงวันนี้
บ้านไม้เก่า ....คุณค่า ความหมายในความทรงจำ
แป้ หรือแพร่ เป็นจังหวัดเล็กๆ ในดินแดนล้านนาตะวันออก แต่เดิมมาบ้านเรือนส่วนใหญ่ปลูกสร้างด้วยไม้จนกลายเป็นอัตลักษณ์ของเมือง แม้ว่าบางส่วนจะทรุดโทรมไปตามกาลเวลา หากสิ่งที่ไม่ได้โรยราไปด้วยคือ น้ำใจไมตรีของคุณตาคุณยายที่อยู่ในบ้านไม้เก่านั้น
บ้านไม้เก่าหลายหลัง รอเวลารื้อถอนเพื่อสร้างใหม่ ด้วยแบบที่ทันสมัย แต่ทว่าไม่เพียง เสา ไม้กระดาน หรือตะปูเท่านั้นที่จะถูกถอนออกไป หากยังเป็นการดึงเอาจิตวิญญาณของผู้เฒ่าผู้แก่ที่อยู่ในเรือนนั้นมาเนิ่นนาน ให้ขาดวิ่นไปด้วย จากความหลัง ความทรงจำที่ติดตรึงอยู่ในบ้านที่ตนเป็นผู้สร้างมากับมือ ไม่ว่าจะเป็นเสากลางบ้านที่เคยเป็นเสาวัดความสูงของลูกหลาน หน้าต่างห้องนอนที่เคยเอาหน้าแนบแอบดูคนข้างล่าง เป็นต้น ความทรงจำเหล่านี้ เป็นเรื่องของความรู้สึก เป็นคุณค่าทางจิตใจที่มีความหมายต่อชีวิต และหาซื้อที่ไหนไม่ได้....
____________________________________________________________________________________________________________
เส้นทางกิจกรรม ๓ วัน ๒ คืน
วันที่ ๑
๐๕.๐๐ น. |
ทีมงานพร้อมต้อนรับท่านและรับส่งท่านจากสถานีรถโดยสาร/สถานีรถไฟไปยังบ้านพักโฮมเสตย์ ที่บ้านป่าแดง ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ |
๐๗.๓๐ น. |
รับประทานอาหารเช้า และปฏิบัติภารกิจส่วนตัว |
๐๙.๐๐ น. |
แนะนำโครงการและทำความรู้จักเพื่อนร่วมทาง |
๐๙.๓๐ น. |
เดินทางด้วยรถสองแถวท้องถิ่นไปยัง วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง คู่บ้านคู่เมืองแพร่ และเป็นวัดประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๑๘๗๙ ในสมัยพระมหาธรรมราชา (ลิไท) |
๑๑.๐๐ น. |
ออกเดินทางไปยังบ้านนาคูหา อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ |
๑๒.๐๐ น. |
รับประทานอาหารกลางวันพื้นบ้าน ลิ้มรส “เตา” สาหร่ายน้ำจืดท้องถิ่นที่ได้รับสมยานามว่า “มรกตแห่งท้องน้ำ” ซึ่งได้รับการวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่แล้วว่ามีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง และขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นเครื่องสำอาง และอื่นๆ อีกมากมาย |
๑๔.๐๐ น. |
เยี่ยมชมธรรมชาติที่สวยงามของบ้านนาคูหา แหล่งต้นน้ำที่สำคัญของแม่น้ำยม และชมภูมิปัญญาการเพาะเลี้ยงเตา ซึ่งสามารถเพาะเลี้ยงได้ในน้ำที่สะอาดที่สุดเท่านั้น |
๑๖.๐๐ น. |
เดินทางกลับที่พัก และพักผ่อนตามอัธยาศรัย |
๑๗.๓๐ น. |
เดินทางไปรับประทานอาหารเย็นที่กาดสามวัยในตัวเมืองแพร่ |
๑๙.๐๐ น. |
เดินทางกลับที่พัก และพักผ่อนตามอัธยาศรัย |
วันที่ ๒
๐๕.๓๐ น. |
เยี่ยมชมตลาดชุมชนยามเช้า และตักบาตรที่ตลาดบ้านพันเชิงป่าแดง (ตามอัธยาศรัย |
๐๗.๓๐ น. |
รับประทานอาหารเช้า และปฏิบัติภารกิจส่วนตัว |
๐๙.๓๐ น. |
Walking Trip @ บ้านป่าแดงและบ้านพันเชิง เยี่ยมชมและพบปะพูดคุยให้กำลังใจพ่อเฒ่าแม่แก่ เจ้าของบ้านไม้เก่าที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมท้องถิ่นและเป็นเอกลักษณ์ ที่สำคัญฃของจังหวัดแพร่ ซึ่งปัจจุบันบ้านไม้เก่าจำนวนมากได้ถูกรื้อทิ้งและสร้างแทนที่ด้วยบ้านปูนตามสมัยนิยม ขณะที่บ้านเก่าอีกหลายหลังได้ถูกละทิ้งให้ทรุดโทรม ร้าง ไม่มีผู้อยู่อาศัย เพราะลูกหลานได้ย้ายออกไปอยู่ในหัวเมืองใหญ่เพื่อประกอบอาชีพและศึกษาต่อ บ้านไม้เก่าเหล่านี้จึงถูกปล่อยให้ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา “...การมาเยี่ยมเยียน ชื่นชมให้กำลังใจแก่ผู้ที่ยังอยู่อาศัยในบ้านไม้เก่าเหล่านี้ อย่างน้อยที่สุดท่านก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เจ้าของบ้านมีแรงใจที่จะเก็บรักษาบ้านที่มีเรื่องราวแห่งความภาคภูมิใจของบรรพชนไว้ให้ลูกหลานได้สืบทอดอีกทั้งยังเป็นการรักษาบ้านไว้เป็นมรดกทางสถาปัตยกรรมท้องถิ่นคู่จังหวัดแพร่ต่อไป...” |
๑๒.๐๐ น. |
ออกเดินทางไปรับประทานอาหารกลางวัน ที่ร้านอาหารเจ เพื่อให้ท่านได้อิ่มท้อง อิ่มบุญ สุขใจ |
๑๓.๐๐ น. |
เยี่ยมชมคุ้มวงศ์บุรี คุ้มเจ้าดั้งเดิมที่ได้รับการดูแลและมีความสวยงามมากที่สุดในจังหวัดแพร่พร้อมรับฟังเรื่องราวที่น่าประทับใจละน่าประหลาดใจเกี่ยวกับวิถีชีวิตของผู้คนในอดีตทั้งวิถีของเจ้า ไพร่ และทาส |
๑๕.๐๐ น. |
ไหว้พระ ๓ วัด วัดพงษ์สุนันท์ ซึ่งมีพระประธานปางมารวิชัย อายุกว่า ๕๖๐ ปี วัดพระนอน ซึ่งสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมเชียงแสน และมีหน้าบรรณที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในภาคเหนือัดหลวง ซึ่งได้รับการสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมๆ กับการสร้างเมืองแพร่เมื่อกว่า ๑,๐๐๐ ปีก่อน |
๑๗.๐๐ น. |
เข้าร่วมกิจกรรมแอ่วกาดกองเก่า กิจกรรมของภาคประชาชนที่ร่วมกันฟื้นย่านการค้าเก่าซึ่งถูกลืมเลือนให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ด้วยการปิดถนนและสร้างพื้นที่สาธารณะให้พ่อค้าแม่ค้า พ่อเฒ่าแม่แก่ ลูกเล็กเด็กแดงมาใช้พื้นที่ร่วมกัน ทั้งค้าขาย ดูหนังกลางแปลงเดินเที่ยว มีการแสดงต่างๆทั้งดนตรีท้องถิ่น การละเล่นขี่ม้าก้านกล้วย ไปจนถึงฮูลาฮุบ และบีบอย ฯลฯ |
๑๘.๓๐ น. |
รับประทานอาหารเย็นที่คุ้มวงศ์บุรี พร้อมดื่มด่ำบรรยากาศคุ้มเจ้าในยามค่ำคืน |
๒๐.๐๐ น. |
เดินทางกลับที่พัก และพักผ่อนตามอัธยาศรัย |
วันที่ ๓
๐๗.๐๐ น. |
ออกเดินทางไปรับประทานอาหารที่ท่าน้ำเชตวัน พลางดื่มด่ำบรรยากาศริมแม่น้ำยม และเยี่ยมชมบ้านป่าไม้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่สามารถบ่งบอกถึงความรุ่งเรืองในอดีตของธุรกิจสัมปทานป่าไม้ของจังหวัดแพร่ ที่ทำให้คนทั่วโลกต่างรู้จักเมืองแพร่ในฐานะเมืองที่มีไม้สักที่อุดมสมบูรณ์และมีคุณภาพดีที่สุดในโลก |
๐๙.๓๐ น. |
ผ่อบ้านแอ่วเมือง ปั่นจักรยานชมวิถีชีวิตคนเมืองแพร่และเยี่ยมชมสถานที่สำคัญของจังหวัดแพร่ อาทิ คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมผสมยุโรปสมัยรัชกาลที่ ๕ และเป็นที่ประทับของของเจ้าพิริยเทพวงศ์อุดร เจ้าเมืองคนสุดท้ายผู้ครองเมืองแพร่ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ซึ่งเคยมีเจ้าผู้ครองนคร และอุปราช
เป็นมัคนายก เมฆ หรือ กำแพงเมืองรูปหอยสังข์ ที่มีความสมบูรณ์มากที่สุดในประเทศไทย และได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นที่มาของคำในประโยคที่ว่า “โยกเยก
เอย น้ำท่วมเมฆ...” บ้านเจ้าหนานไชยวงศ์ ซึ่งสร้างขึ้นในยุคเดียวกับคุ้มวงศ์บุรี ภายในมีลายพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ซึ่งทรงพระราชทานนามสกุลมหายศปันยา เป็นต้น |
๑๒.๐๐ น. |
เดินทางไปรับประทานอาหารกลางวันที่ศาลาแก้ววรรณา |
๑๓.๐๐ น. |
เรียนรู้การย้อมห้อมและครามแก้ววรรณา ซึ่งใช้วิธีธรรมชาติ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดีในการอนุรักษ์วิธีการย้อมห้อมด้วยวิธีธรรมชาติ เพราะปัจจุบันผู้ผลิตผลิตภัณฑ์หม้อห้อมจำนวนมากได้เปลี่ยนมาใช้วิธีการที่ใช้เคมีภัณฑ์เป็นส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการผลิตเชิงอุตสาหกรรมที่เน้นปริมาณและต้นห้อมที่ใช้ในการย้อมหายากขึ้น เนื่องจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป |
๑๖.๐๐ น. |
Reflection and Inquiry วงสนทนาแลกเปลี่ยนสิ่งที่ท่านได้รับจากโครงการ และสิ่งที่ท่านได้ให้แก่พื้นที่ ต่างคนต่างมุมมอง ต่างความคิด การเก็บเกี่ยวสิ่งที่เห็น บทเรียนที่ได้รับย่อมแตกต่างกัน การสนทนาแลกเปลี่ยนจึงเป็นวิธีการที่สำคัญที่ช่วยให้ทุกท่านได้เรียนรู้โลกใบเดียวกันในมุมมองที่กว้างขึ้น และการเรียนรู้นี้เองจะเป็นการยกระดับสิ่งที่เห็นเป็นความรู้ และยกระดับความรู้เป็นปัญญา |
๑๗.๐๐ น. |
เดินทางกลับที่พัก และเตรียมตัวเดินทางกลับภูมิลำเนา โดยโครงการจัดรถรับส่งท่านไปยังสถานีขนส่ง/สถานีรถไฟตามเที่ยวเวลาที่ท่านจองไว้ |
ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม ๔,๕๐๐ บาท/ท่าน รับสมัครจำนวน ๘ ท่านเท่านั้น
รอบกิจกรรมครั้งต่อไป ๑๑ - ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
สนใจติดต่อ ๐๒-๖๒๒-๒๓๑๖, ๐๘๗-๖๘๓-๐๘๘๐, [email protected]
Download เอกสารเพิ่มเติม
|